1.ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 20จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื่นที่รับผิดชอบ กี่จังหวัด มีจังหวัดอะไรบ้าง
ตอบ 4 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ พังงา ระนอง ภูเก็ต
2. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 20จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่แถวไหน มีเบอร์ติดต่อกลับหรือไม่
ตอบ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 20 ที่ตั้งปัจจุบัน 149 ถนนธราธิบดี ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน 84130 เบอร์โทรศัพท์ 077-311075 โทรสาร 077-311671
3. สหกรณ์มีกี่ประเภท?
สหกรณ์มีกี่ประเภท? |
7 ประเภท ได้แก่
สหกรณ์ภาคการเกษตร
1. สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ ผู้มีอาชีพทางการเกษตร รวมกันจัด ตั้งขึ้น และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต่อนายทะเบียนสหกรณ์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สมาชิกดำเนินกิจการร่วมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและ กัน เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพของสมาชิก และช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของสมาชิกให้ดีขึ้น ความเป็นมา สหกรณ์การเกษตรแห่งแรกได้จัดตั้งขึ้นในปี พงศ. 2459 ชื่อว่า สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ ในจังหวัดพิษณุโลก เป็นสหกรณ์ การเกษตรชนิดไม่จำกัด มีขนาดเล็กในระดับหมู่บ้านตั้งขึ้นในหมู่เกษตรกรที่มี รายได้ต่ำและมีหนี้สินมากมีสมาชิกแรกตั้ง จำนวน 16 คน ทุนดำเนินงาน จำนวน 3,080 บาท เป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้า จำนวน 80 บาท และเป็นทุนจากการกู้แบงก์สยามกัมมาจล (ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน) จำนวน 3,000 บาท
2. สหกรณ์ประมง สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ชาวประมง เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพ ซึ่งชาวประมงแต่ละคนไม่สามารถแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ตามลำพัง บุคคลเหล่านี้จึงรวมกันโดยยึดหลักการช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความเป็นมา สหกรณ์ประมงแห่งแรกได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2492 ชื่อว่าสหกรณ์ประมงพิษณุโลกจำกัด ในท้องที่ลำคลองกระบังโป่งนก อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เป็นสหกรณ์ประมงประเภทน้ำจืด มีสมาชิกแรกตั้ง จำนวน 54 คนดำเนินการจัดสรรที่ทำกิน การจำหน่าย การแปรรูป และขออนุญาตสัมปทานให้สมาชิกจับสัตว์น้ำได้โดยสะดวก
3. สหกรณ์นิคม สหกรณ์การเกษตรในรูปแบบหนึ่ง ที่มีการดำเนินการจัดสรรที่ดินทำกินให้ราษฎร การจัดสร้างปัจจัยพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ที่อยู่อาศัยควบคู่ไปกับการดำเนินการจัดหาสินเชื่อ ปัจจัยการผลิตและสิ่งของที่จำเป็น การแปรรูปการเกษตร การส่งเสริมอาชีพ รวมทั้งกิจการให้บริการสาธารณูปโภคแก่สมาชิก
4. สหกรณ์ร้านค้า สหกรณ์ที่มีผู้บริโภครวมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดหาสินค้า เครื่องอุปโภคบริโภคมาจำหน่ายแก่สมาชิกและบุคคลทั่วไป โดยจดทะเบียนตามกฎหมายสหกรณ์ในประเภท สหกรณ์ร้านค้า มีสภาพเป็นนิติบุคคลซึ่งสมาชิกผู้ถือหุ้นทุกคนเป็นเจ้าของ สมาชิกลงทุนร่วมกันในสหกรณ์ด้วยความสมัครใจเพื่อแก้ไขความเดือดร้อนในการซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคและเพื่อผดุงฐานะทางเศรษฐกิจของตนและหมู่คณะ ความเป็นมา สหกรณ์ร้านค้า จัดตั้งขึ้นโดยชาวชนบท อำเภอเสนา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ในปีพ.ศ.2480 และได้เลิกล้มไป ต่อมารัฐบาลได้ช่วยเหรือ มีนโยบายที่จะช่วยเหลือด้านการครองชีพให้กับประชาชน โดยการส่งเสริม และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ร้านค้าขึ้น ทั้งในส่วนกลางและส่วน ภูมิภาคทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งสหกรณ์ร้านค้าที่ตั้งขึ้นในเมืองที่ประชาชน หนาแน่นจะประสบความสำเร็จมากกว่าสหกรณ์ร้านค้าที่ตั้งในชนบท
สหกรณ์นอกภาคการเกษตร
5. สหกรณ์ออมทรัพย์ สถาบันการเงินแบบหนึ่งที่มีสมาชิกเป็นบุคคลซึ่งมีอาชีพอย่างเดียวกันหรือที่อาศัยอยู่ในชุมชนเดียวกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการออมทรัพย์ และให้กู้ยืมเมื่อเกิดความจำเป็นหรือเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์งอกเงยและได้รับการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ สามารถกู้ยืมเงินได้เมื่อเกิดความจำเป็นตาม หลักการช่วยตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความเป็นมา สหกรณ์ออมทรัพย์แห่งแรกในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นในหมู่ข้าราชการสหกรณ์และพนักงานธนาคารเพื่อการสหกรณ์ จดทะเบียนเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2492 คือ สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัดสินใช้ และได้แพร่ หลายไปในหน่วยงานของรัฐและเอกชนทั่วประเทศ ส่วนสหกรณ์ ออมทรัพย์ในชุมชนแห่งแรก คือ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแม่มูล จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2522
6. สหกรณ์บริการ สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ โดยมีประชาชนไม่น้อยกว่า 10 คน ที่มีอาชีพอย่างเดียวกัน ได้รับ ความเดือดร้อนในเรื่องเดียวกันรวมตัวกันโดย ยึดหลักการประหยัด การช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ ปัญหาต่างๆ รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงในอาชีพต่อไป
7. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน สหกรณ์อเนกประสงค์ ตั้งขึ้นโดยความสมัครใจของสมาชิกที่อยู่ในวงสัมพันธ์เดียวกัน เช่น อาศัยในชุมชนเดียวกัน ประกอบอาชีพเดียวกัน หรือในสถานที่เดียวกัน หรือมีกิจกรรมร่วมกันเพื่อการรู้จักช่วยเหลือตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นให้สมาชิกประหยัดและออม เพื่อการรู้จักช่วยตนเองเป็นเบื้องต้นและเป็นพื้นฐานในการสร้างความมั่นคงแก่ตนเองและครอบครัว
|
FAQ คำถามที่พบบ่อย
คำถาม - คำตอบ
|
1.การจ่ายเงินยืมเพื่อเดินทางไปราชการวันที่ 30 ก.ย.-2 ต.ค. 63 และจัดฝึกอบรม 3-4 ต.ค. 63 สามารถยืมเงินเพื่อเดินทางไปราชการและจัดฝึกอบรมตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย.-4 ต.ค. 63 ได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ เนื่องจาก 1.การยืมเงินเพื่อเดินทางไปราชการในวันที่ 30 ก.ย.-2 ต.ค. 63 จะยืมเงินของปีงบประมาณ 2563 2.การยืมเงินเพื่อจัดฝึกอบรมในวันที่ 3-4 ต.ค. 63 นั้นเป็นปีงบประมาณ 2564 ต้องยืมเงินของปีงบประมาณ 2564 ดังนั้นการยืมเงินตั้งแต่ 30 ก.ย.-4 ต.ค. เพื่อการจัดโครงการดังกล่าวนี้จึงไม่สามารถยืมเงินในคราวเดียวกันได้
|
2.ข้าราชการระดับชำนาญการ อยู่จังหวัดปัตตานีเดินทางไปราชการจังหวัดนครปฐม โดยเครื่องบินจากหาดใหญ่ถึงสุวรรณภูมิและโดยรถรับจ้างจากสนามบินสุวรรณภูมิถึงจังหวัด นครปฐมสามารถเบิกค่าเครื่องบินและรถรับจ้างในการเดินทางลักษณะดังกล่าวได้หรือไม่
ตอบ ได้ และให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยประหยัด ไม่เกินสิทธิที่ผู้เดินทางจะพึงได้รับตามประเภทของพาหนะที่ใช้เดินทาง โดยค่าพาหนะรับจ้างข้ามจังหวัดให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราครั้งละเกิน 600 บาท
|
3.ส่วนราชการเชิญเจ้าหน้าที่สหกรณ์มาร่วมประชุมกับข้าราชการในจังหวัด สามารถเบิกค่าพาหนะได้หรือไม่ และใช้แบบใบสำคัญรับเงินค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคคลภายนอกเป็นหลักฐานการจ่ายได้หรือไม่
ตอบ เบิกได้โดยการเบิกค่าพาหนะให้ใช้ใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (แบบ 8708) ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน (แบบ 4231) ตามหนังสือกระทรวงการคลัง โดยให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริง
|
4.การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทาง นับอย่างไร
ตอบ ให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการ ตามปกติแล้วแต่กรณี ดังนี้ 1) กรณีที่มีการพักแรมให้นับ 24 ชม.เป็น 1 วัน ถ้าไม่ถึง 24 ชม. หรือเกิน 24 ชม.และส่วนที่ไม่ถึงหรือเกิน 24 ชม.นั้นนับ ได้เกิน 12 ชม. ให้ถือเป็น 1 วัน 2) กรณีมิได้มีการพักแรม หากนับได้ไม่ถึง 24 ชม. และส่วนที่ไม่ถึงนับได้เกิน 12 ชม.ให้ถือเป็น 1 วัน หากนับได้ไม่เกิน 12 ชม.แต่เกิน 6 ชม. ให้ถือเป็นครึ่งวัน
|
6.การเบิกเบี้ยเลี้ยงกรณีไปร่วมประชุมราชการต้องหักมื้ออาหารหรือไม่
ตอบ ไม่ต้อง เพราะการหักค่าอาหารออกจากเบี้ยเลี้ยงเดินทางจะหักเฉพาะการเดินทางเข้ารับการฝึกอบรมเท่านั้น
|
7.เงินชดเชยในการใช้ยานพาหนะส่วนตัวในการเดินทางไปราชการ เบิกอย่างไร
ตอบ เงินชดเชยในการใช้ยานพาหนะส่วนตัวในการเดินทางไปราชการ เบิกได้ดังนี้ - รถยนต์ส่วนบุคคล กิโลเมตรละ 4 บาท - รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล กิโลเมตรละ 2 บาท
|
8.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในกรณีไปประจำสำนักงานซึ่งต่างสังกัด เบิกสังกัดไหน
ตอบ เบิกสังกัดใหม่ เช่น เดิมบรรจุกรมส่งเสริมสหกรณ์ต่อมาย้ายไปบรรจุกรมการปกครอง ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำที่กรมการปกครอง
|
9.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำจากสำนักงานหนึ่งไปยังอีกสำนักงานหนึ่งซึ่งเป็นสังกัดเดียวกัน จะเบิกที่ใด
ตอบ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำสังกัดเดียวกันจะเบิกจากสำนักงานก็ได้ เช่น เดิมเป็นข้าราชการประจำสำนักงานสหกรณ์จังหวัดระยอง ต่อมาได้ย้ายมาประจำสำนักงานสหกรณ์จังหวดมุกดาหาร ซึ่งถือเป็นสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์ทั้ง 2 แห่งผู้มีสิทธิเบิกจะเบิกค่าใช้จ่ายจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดระยอง หรือสำนักงานสหกรณ์จังหวัดมุกดาหารก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้มีสิทธิจะต้องได้รับการอนุมัติให้เดินทางไปราชการประจำโดยผู้มีอำนาจอนุมัติ
|
10.นาย ก และนาย ข ได้รบอนุมัติให้เดินทางไปราชการพร้อมกันนาย ก ขอเบิกค่าที่พักเหมาจ่าย แต่นาย ข พักโรงแรมขอเบิกจ่ายจริงได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ การอนุมัติเดินทางเป็นหมู่คณะต้องเลือกเบิกเหมาจ่ายหรือจ่ายจริงเหมือนกันทั้งคณะ ไม่แยกเบิก และจ่ายจริงต้องพักคู่ ยกเว้น กรณีไม่เหมาะสม หรือมีสิทธิพักเดี่ยว การเดินทางไปราชการในคราวเดียวกันเป็นหมู่คณะทุกคนต้องเลือกเบิกในลักษณะเดียวกัน
|
11.ค่าสมภาระในการเดินทางไปราชการโดยเครื่องบิน และค่าเช่าที่พักผ่านตัวแทนจำหน่าย Traveloka, Agoda, Booking, Trivago สามารถนำมาเบิกได้หรือไม่
ตอบ เบิกได้ ซึ่งกระทรวงการคลังได้กำหนดวิธีปฏิบัติและหลักฐานการเบิกจ่ายเงินไว้โดยในการซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินให้ เบิกค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าพาหนะรวมถึงค่าสัมภาระ ที่สายการบินเรียกเก็บได้ และในส่วนของค่าเช่าที่พักกรณีติดต่อกับตัวแทนจำหน่ายให้ใช้ใบเสร็จรับเงินของตัวแทนจำหน่าย หรือที่พิมพ์ออกจากระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็น หลักฐานเบิกได้ ดังนั้น ค่าสัมภาระในการเดินทางโดยเครื่องบินและค่าเช่าที่พักผ่านตัวแทนจำหน่ายจึงสามารถนำมาเบิกจากทางราชการได้
|
12.ค่าธรรมเนียมในการคืนบัตร หรือเปลี่ยนบัตรโดยสาร กรณีเจ็บป่วยไม่สามารถเดินทางได้ สามารถนำค่าธรรมเนียมมาเบิกได้หรือไม่
ตอบ เบิกไม่ได้ แต่ผู้เดินทางจะสามารถเบิกค่าธรรมเนียมดังกล่าวได้ในกรณีดังต่อไปนี้ 1. กรณีส่วนราชการสั่งให้งด หรือเลื่อนการเดินทางไปราชการ 2. เหตุสุดวิสัยอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ ทั้งนี้ต้องมิได้เกิดจากผู้เดินทาเป็นเหตุ
|
13.การเบิกค่าขนย้าย จะเบิกได้อย่างไร และระยะทางที่เบิกใช้ระยะทางจากหน่วยงานใด
ตอบ การเบิกค่าขนย้าย ต้องได้รับอนุมัติเดินทางไปราชการ และระยะทางที่เบิกใช้ระยะทางของกรมทางหลวง
|
14.นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ เบิกค่าเครื่องบิน ได้หรือไม่
ตอบ เบิกได้กรณีมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดี
|
15.การจัดประชุม มีเวลาการประชุม 9.00 น. - 12.00 น. จะเลี้ยงอาหารกลางวันได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ การเบิกค่าอาหารในการประชุมจะเบิกได้ถ้ามีช่วงระยะเวลาการประชุมคาบเกี่ยวในมื้ออาหารนั้น ดังนั้น หากมีการประชุมถึงเวลาประมาณ 13.30 น. ก็สามารถเบิกอาหารกลางวันได้
|